วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552




การถ่ายละอองเกสรการถ่ายละอองเกสร คือ วิธีการที่ละอองเกสรตัวผู้เคลื่อนที่ไปตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย เพื่อให้เกิดการผสมพันธุ์และสืบพันธุ์ต่อไปการถ่ายละอองเกสรมี 3 แบบ คือ 1. การถ่ายละอองเกสรในดอกเดียงกัน พืชที่มีดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ คือ พืชที่มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกันละอองเกสรตัวผู้นั้นสามารถร่วงหรือปลิวมาตกบนยอดเกสรตัวเมียได้พืชที่ถ่ายละอองเกสรในดอกเดียวกัน ได้แก่ ถั่ว มะเขือ ฝ้ายและพืชที่มีดอกสมบูรณ์เพศอื่น ๆ2. การถ่ายละอองเกสรข้ามดอกในต้นเดียวกัน เกิดกับพืชที่มีดอกไม่สมบูรณ์เพศ อะอองเกสรตัวผู้จะต้องเคลื่อนที่ไปตกบนยอดเกสรตัวเมียของอีกดอกหนึ่งในต้นเดียวกัน พืชที่ต้องถ่ายละอองเกสรแบบนี้ ได้แก่ ฟักทอง แตงกวา เป็นต้น3. การถ่ายละอองเกสรข้ามต้น เกิดกับพืชที่มีดอกตัวผู้หรือดอกตัวเมียอยู่คนละต้น จึงต้องใช้วิธีการถ่ายละอองเกสรข้ามต้นพืชที่มีดอกสมบูรณ์เพศหรือพืชที่มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกันก็อาจจะถ่ายละอองเกสรข้ามต้นได้เหมือนกัน โดย อาศัยลมมนุษย์หรือสัตว์พาไปสิ่งที่ช่วยในการถ่ายละอองเกสร พืชเคลื่อนที่ด้วยตนเองไม่ได้ ส่วนประกอบของพืชก็เคลื่อนที่ไปเองไม่ได้เช่นกัน ละอองเกสรตัวผู้เมื่อไม่สมบูรณ์เพศและเติบโตพร้อมที่จะถ่ายละอองเกสรไปผสมพันธุ์จึงต้องอาศัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเข้าช่วยเหลือ สิ่งสําคัญที่ช่วยในการถ่ายละอองเกสรของพืชดอก ได้แก่ แมลง แมลงเป็นสัตว์ที่มีส่วนช่วยในการถ่ายละอองเกสรของพืชมากที่สุด ดอกของพืชเมื่อเจริญเติบโตกลีบดอกจะมีสีสวยงาม บางชนิดมีกลิ่นหอม บริเวณโคนกลีบดอกจะมีนํ้าหวานซึ่งเป็นอาหารของแมลงพืชสร้าง สี กลิ่น และนํ้าหวานที่ดอกเพื่อล่อแมลงมาเกาะ แล้วอะอองเกสรตัวผู้จะได้ติดไปกับขา ขน ปีก ปาก ของแมลงไปตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย แมลงที่ช่วยในการถ่ายละอองเกสรของพืชมีหลายชนิดเช่น ผีเสื้อ ผึ้ง แมลงภู่


ดอกไม้เป็นส่วนประกอบสำคัญของพืช

ดอกไม้เป็นส่วนประกอบสำคัญของพืชที่ใช้ในการสืบพันธุ์ เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียจึงเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ของพืชโดยตรง เราแบ่งประเภทของดอกไม้โดยยึดการมีเกสรตัวผู้เกสรตัวเมียเป็นหลักได้ดังนี้ ดอกสมบูรณ์เพศ คือ ดอกที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน เช่น ดอกชบา ดอกกุหลาบ ดอกบัว ดอกบานบุรี ดอกมะเขือ ดอกพริกดอกถั่ว ดอกฝ้าย ดอกกะหลํ่า ดอกข้าว เป็นต้นดอกไม่สมบูรณ์เพศ คือ ดอกที่มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเพียงอย่างเดียว ถ้ามีเฉพาะเกสรตัวผู้เรียกว่า “ ดอกตัวผู้ ” มีเฉพาะเกสรตัวเมียเรียกว่า“ ดอกตัวเมีย ” พืชหลายชนิดมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกันเช่น มะพร้าว ฟักทอง บวบ แตงกวา ข้าวโพด ตำลึง เป็นต้น พืชอีกหลายชนิดที่บางต้นนั้นมีเฉพาะดอกตัวผู้หรือดอกตัวเมียเท่านั้น เช่น มะละกอ ตาล มะยมมะเดื่อ พืชที่มีลักษณะเหล่านี้คนทั่วไปมักเรียกชื่อเพศตามชนิดของดอกไปด้วยเช่น มะละกอที่มีดอกตัวผู้เรียกว่า “ มะละกอตัวผู้ ”



ส่วนประกอบของดอกไม้
ในดอกครบส่วน (completed flowers) จะประกอบด้วยโครงสร้างสำคัญ ๔ ส่วน
๑. กลีบเลี้ยง(sepal) ป้องกันดอกขณะยังตูม
๒. กลีบดอก(petal) ทำหน้าที่ต่างกันไปในพืชต่างๆ โดยมากมีสีสันสวยงามเพื่อล่อให้แมลงมาช่วยในการถ่ายละอองเรณู
๓. เกสรตัวผู้ (stamen) ประกอบด้วยสองส่วนคือ อับเรณู (anther) และก้านชูอับเรณู (stemen) ๔. เกสรตัวเมีย (pistil) ประกอบด้วย รังไข่ (ovary) ก้านชูเกสรตัวเมีย(style) ยอดเกสรตัวเมีย(stigma) โครงสร้างเหล่านี้ใช้ในการจำแนกชนิดดอกไม้ด้วย ถ้าดอกไหนมีครบสี่ส่วนนี้ก็เป็น ดอกครบส่วน ถ้าไม่ครบก็เรียกว่าดอกไม่ครบส่วน แต่ถ้าพิจารณาแค่ข้อ ๓ และ ๔ เราก็จะแยกได้เป็นดอกสมบูรณ์เพศ คือมีทั้งตัวผู้และตัวเมียในดอกเดียว ส่วนดอกไม่สมบูรณ์เพศ คือมีเพียงตัวผู้ หรือตัวเมียอย่างเดียวเท่านั้นในดอกเดียว



การสืบพันธุ์ คือ กระบวนการของสิ่งมีชีวิตในการสร้างสิ่งมีชีวิตเดียวกันเพื่อดำรงพันธุ์ไว้การสืบพันธุ์ของพืชดอก โดยมีดอกทำหน้าที่ในการผสมพันธุ์และส่วนประกอบบางอย่างของดอกก็ช่วยในการผสมพันธุ์ดอกไม้ คือ อวัยวะสืบพันธุ์ของพืช ดอกไม้ซึ่งมีส่วนประกอบครบเรียกว่า ดอกครบส่วน ประกอบด้วยส่วนต่างๆ 4 ชั้น โดนเรียงจากชั้นนอกเข้าไปชั้นใน ดังนี้คือ1.กลีบเลี้ยง มีสีเขียว ทำหน้าที่ห่อหุ้มดอกตอนยังตูม2.กลีบดอก มีสีต่างๆ เนื่องจากรงควัตถุต่างๆ ที่ละลายอยู่ในเซลล์และตรงโคนกลีบดอกมีน้ำหวาน กลิ่นหอมของดอกไม้เป็นน้ำมันที่อยู่ในกลีบดอก3.เกสรตัวผู้ มีหลายอัน แต่ละอันของเกสรตัวผู้ประกอบด้วย ก้านชูอับละอองเรณู และอับละอองเรณู ซึ่งภายในอับละอองเรณูมี 4 ถุง ภายในแต่ละถุงมีละอองเรณู4.เกสรตัวเมีย มีอันเดียวหรือหลายอัน ซึ่งอาจจะแยกกันหรือติดกันก็ได้ เกสรตัวเมียแต่ละอันประกอบด้วย ยอดเกสรตัวเมีย ซึ่งมักมีน้ำเหนี่ยวๆ ติดอยู่เพื่อดักเกสรตัวผู้ ก้านเกสรตัวเมีย และรังไข ซึ่งภายในมี ออวูล (Ovule) ภายในออวูลมีไข่(egg)ดอกไม้ที่มีส่วนประกอบไม่ครบ 4 ชั้น เรียกว่า ดอกไม่ครบส่วน และถ้ามีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน เรียกว่า ดอกสมบูรณ์เพศ แต่ถ้าดอกมีเฉพาะเกสรตัวผู้อย่างเดียวหรือเกสรตัวเมียเพียงอย่างเดียว เรียกดอกชนิดนี้ว่า ดอกไม่สมบูรณ์เพศการสืบพันธุ์ (reproduction) คือ การเกิดของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน การสืบพันธุ์ของพืชแบ่งเป็น 2 แบบ คือ การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ และการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ1. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ คือ การสืบพันธุ์ซึ่งมีการผสมระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้(สเปิร์ม) และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย(ไข่) อาจเกิดเองโดยธรรมชาติ หรือมนุษย์จัดทำให้เกิดขึ้น พืชต้นใหม่ที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะของต้นพ่อและแม่ผสมกัน ถ้ามนุษย์ช่วยคัดเลือกพันธุ์พ่อและพันธุ์แม่ให้มีลักษณะและสมบัติตามที่ต้องการ โดยช่วยถ่ายละอองเรณูจากพันธุ์พ่อลงบนยอดเกสรตัวเมียของพันธุ์ก็จะ ได้พืชต้นใหม่พันธุ์ดีตามต้องการ ซึ่งดีกว่าปล่อยให้เกิดการถ่ายละอองเรณูตามธรรมชาติการปฏิสนธิ คือ กระบวนการที่สเปิร์มผสมกับไขา หลังจากปฏิสนธิแล้วจะได้ต้นอ่อน (เอ็มบริโอ) ซึ่งจะเจริญเติบโตต่อไปเป็นพืชต้นใหม่
สเปิร์ม ผสมกับไข่ เจริญเป็นต้นอ่อน (เอ็มบริโอ)สเปิร์มอีกตัว ผสมกับโพลานิวคลิไอ เจริญเป็นอาหารต้นอ่อน (เอนโดสเปิร์ม)ออวุล เจริญเป็นเมล็ดรังไข่ เจริญเป็นผลแอนติโพดาลนิวเคลียส และซินเนอร์จิดนิวเคลียสจะสลายไปพืชต้นใหม่ที่เกิดจากการเพาะเมล็ด จะมีรากแก้วลำต้นแข็งแรงอายุยืน แต่อาจจะกลายพันธุ์และใช้เวลาปลูกนานกว่าจะออกดอกออกผล2. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ คือ การขยายพันธุ์พืชโดยใช้ส่วนต่างๆ ของพืชเพื่อให้ได้พืชต้นใหม่ เช่น การปักชำ การตอน การติดตาและการทาบกิ่ง พืชต้นใหม่จะมีลักษณะเหมือนต้นเดิม ระยะเวลาปลูกเพื่อให้ออกดอกผลเร็วกว่าการเพาะต้นใหม่จากเมล็ด ไม้ผลนิยมขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการติดตา การทาบกิ่ง และการต่อกิ่ง เนื่องจากสามารถเลือกต้นตอที่แข็งแรงได้และมีรากแก้ว ปัจจุบันการขยายพันธุ์สำหรับพืชเศรษฐกิจ เช่น กล้วยไม้ ไม้สัก นิยมขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นวิธีขยายพันธุ์ที่ให้พืชจำนวนมากที่สุดในเวลาสั้น และไม่กลายพันธุ์ วิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทำได้โดยการนำเนื้อเยื่อส่วนใดก็ได้ของพืชไปเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ ซึ่งต้องทำให้สภาพที่ปลอดเชื้อ เนื้อเยื่อจะแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนเซลล์ขึ้นมากมาย และเกิดต้นใหม่เล็กๆ ขึ้น ซึ่งนำไปปลูกต้นใหม่จำนวนมากมายลักษณะการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศมีหลายชนิดดังนี้1. ใช้ส่วนต่างๆ ของพืชมาเพาะพันธุ์และปักชำแทนการเพาะด้วยเมล็ดก. ลำต้นใต้ดิน เช่น ขมิ้นขาว มันฝรั่ง ขิงข. ลำต้นที่เป็นกิ่งโดยการปักชำ เช่น พลูด่าง มันสำปะหลัง ชบา โกสนค. ใช้ใบมาเพาะ เช่น ต้นตายใบเป็น กุหลาบหินง. ใช้ราก เช่น มันเทศ หัวผักกาด เง่ากระชายจ. ใช้หน่อ เช่น กล้วย กล้วยไม้2. ใช้การตอนกิ่ง การติดตา การทาบกิ่ง3. ใช้การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หมายถึง การเอาชิ้นส่วนของพืชมาเพาะเลี้ยงในอาหารและฮอร์โมนที่เหมาะสม ทำให้งอกเป็นต้นขึ้นได้ ชิ้นส่วนที่นำมาเพาะเลี้ยงได้ เช่น ตา เมล็ดอ่อน ลำต้น อับละอองเรณู เนื้อเยื่อลำเลียง ใบ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทำได้ในพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ในไม้ดอก เช่น กล้วยไม้ บอนสี หน้าวัว ในผลไม้เช่น กล้วย สับปะรด และในพืชอื่นๆ เช่น สัก ไผ่ เป็นต้น ลูกผสมของพืชใหม่เกิดขึ้นจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อก็มี เช่น นำมะเขือเทศ (tomato) มารวมกับมันฝรั่ง (potato) เกิดพืชใหม่ชื่อ โปมาโท (pomato) ซึ่งมีผลเป็นมะเขือเทศ มีหัวเป็นมันฝรั่ง ขณะนี้กำลังมีการวิจัยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแครอทกับกบ ซึ่งเป็นสัตว์และพืชผสมกันอยู่การถ่ายละอองเรณู คือ กระบวนการที่ละอองเรณูถูกพาไปตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย การถ่ายละอองเรณูอาจเกิดขึ้นภายในดอกเดียวกัน หรือระหว่างดอกของต้นเดียวกัน หรือข้ามต้นและอาจเกิดได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ดอกไม้ที่บานในตอนกลางวันก็อาศัย ลม น้ำ และสัตว์ที่หากินในตอนกลางวัน ดอกไม้ที่บานในตอนกลางคืนก็อาศัย ลม น้ำ และสัตว์ที่หากินในตอนกลางคืน เมื่อมีการถ่ายละอองเรณูถือว่าการสืบพันธุ์ของพืชได้เริ่มขึ้นแล้ว